ตัวแปรในภาษาโลโกสามารถกำหนดได้หลายชนิด เช่น ตัวเลข (numeric) สายอักขระ (string) ตัวแปรที่จะกล่าวถึงในบทนี้จะเป็นตัวแปรชนิดตัวเลขเพียงอย่างเดียว
ในการกำหนดตัวแปรของภาษาโลโกมี 2 วิธี วิธีแรกเป็นการใช้คำสั่ง Make และวิธีใช้กระบวนความที่มีการกำหนดให้ใส่ค่าตัวแปร ซึ่งจะมีรูปแบบในลักษณะเช่นเดียวกับการใส่ค่าคงที่ในคำสั่ง Forward Back Right และ Left
การที่เราสามารถกำหนดค่าตัวแปรให้กับกระบวนความ จะทำให้ใช้กระบวนความทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น วาดรูปได้หลายขนาดตามที่ต้องการ วาดรูปได้หลายแบบจากค่าตัวแปรที่กำหนด เป็นต้น
รูปแบบกระบวนความที่มีการกำหนดค่าตัวแปร
รูปแบบกระบวนความที่มีการกำหนดค่าตัวแปร คือ
To ชื่อกระบวนความ :ตัวแปร1 :ตัวแปร2 :...
แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ตัวแปรในภาษาโลโก
1. ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่มีการกำหนดค่า เปลี่ยนแปลงค่า และอ้างอิงได้ด้วยคำสั่งภายในโปรแกรม
2. เมื่อสร้างกระบวนความที่มีตัวแปร เช่น To S_Square :size เต่าจะเก็บกระบวนความชื่อ
S_Square ในหน่วยความจำ และเตรียมเนื้อที่ว่างในหน่วยความจำสำหรับเก็บค่าของตัวแปรชื่อ size ไว้
3. เมื่อสั่งเต่าให้ทำงานตามกระบวนความที่มีตัวแปร เช่น คำสั่ง S_Square 20
เต่าจะรับรู้ว่าตัวเลขจำนวน 20 คือค่าของตัวแปร size และนำไปเก็บในเนื้อที่ว่างในหน่วยความจำที่เตรียมไว้ เพื่อนำไปใช้ในกระบวนความ S_Square ต่อไป
4. การทำงานตามกระบวนความที่มีตัวแปร S_Square :size เช่น เครื่องหมาย : จะบอกเต่าให้หาค่าของตัวแปรชื่อ size ในเนื้อที่ว่างในหน่วยความจำที่เตรียมไว้ และนำค่าของตัวแปรไปใช้เหมือนกับการส่งค่าตัวแปรให้กระบวนความ
5. ข้อแตกต่างระหว่างเครื่องหมาย : และ " ในภาษาโลโกมีดังนี้
1) กำหนดให้มีเครื่องหมาย : นำหน้าตัวแปรใด หมายถึง การอ้างถึงค่าของตัวแปรที่จัดเก็บในตัวแปรชื่อนั้น
เช่น :size จะหมายถึงค่าของตัวแปรที่เก็บในตัวแปร ชื่อ size
2) การกำหนดให้มีเครื่องหมาย " หน้าตัวแปรใด หมายถึง การอ้างถึงชื่อของตัวแปรนั้น เช่น "size จะหมายถึง
ชื่อของตัวแปรที่เรียกว่า size
3) การกำหนดตัวแปรโดยไม่มีเครื่องหมาย : หรือ " นำหน้า หมายถึง ตัวแปรนั้นเป็นคำสั่งหรือกระบวนความ เช่น size ที่ไม่มีเครื่องหมาย : หรือ " นำหน้า เต่าจะเข้าใจว่าเป็นคำสั่งหรือกระบวนความที่มีชื่อว่า size
ที่มาเว็บ http://www.tharua.ac.th/tharua/e-learni ... index.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น