วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555
การเขียนชุดคำสั่งในลักษณะ Program Mode
การเขียนชุดคำสั่งในลักษณะ Program Mode
คำสั่งที่สั่งให้เต่าโลโกทำงานดังที่ได้ทดลองปฏิบัติในใบงานที่ 3-4 นั้น เรียกว่าเป็นการทำงานในลักษณะ Command Mode กล่าวคือเต่าโลโกจะทำตามคำสั่งทันที่ที่กดแป้น Enter วิธีนี้สะดวกและได้ผลรวดเร็ว แต่จะเห็นว่าเมื่อเกิดความผิดพลาดจะแก้ไขได้ยาก อาจต้องใช้คำสั่งลบจอภาพ (Clear Screen - CS) ซึ่งทำให้ภาพถูกลบไปทั้งหมด ต้องเริ่มต้นใหม่
ยังมีอีกวิธีหนึ่งในการสั่งให้เต่าโลโกทำงาน แต่คราวนี้จะต้องพิมพ์ชุดคำสั่งทั้งหมดลงไปก่อน และเมื่อเรียกใช้ส่วนหนึ่งในชุดคำสั่งนี้ เต่าโลโกจะสร้างภาพทั้งหมดให้ทันที วิธีการนี้เรียกว่าเป็นการทำงานในลักษณะ Program Mode ตัวอย่างเช่น ในการสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านละ 100 หน่วย จะใช้คำสั่งใน comand mode ดังนี้
REPEAT 4 [FD 100 RT 90]
แต่เมื่ออยู่ใน program mode จะเพิ่มคำสั่งดังนี้
TO SQUARE
REPEAT 4 [FD 100 RT 90]
END
และถ้าต้องการให้โปรแกรมนี้ทำงานก็เพียงแต่พิมพ์คำว่า SQUARE ที่ช่องป้อนเข้าข้อมูลเท่านั้น ก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทันที
จะสังเกตเห็นว่าชุดคำสั่งในลักษณะ program mode สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงเพิ่มคำสั่ง TO ตามด้วยชื่อรูปที่จะสร้าง (ในที่นี้คือ SQUARE = รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส) ไว้ที่บรรทัดแรก ตามด้วยชุดคำสั่งในการสร้างรูป และปิดท้ายด้วยคำสั่ง END
ลองดูอีกคำสั่งหนึ่ง เช่นการสร้างภาพดอกไม้ (FLOWER) จะมีชุดคำสั่งดังนี้
TO FLOWER
FD 100
SETPENCOLOR [255 0 0]
REPEAT 36 [RT 10 REPEAT 4 [FD 50 RT 90]]
END
หลังจากที่พิมพ์ชุดคำสั่งข้างต้นลงไปทั้งหมดแล้ว เมื่อพิมพ์ชื่อ FLOWER ที่ช่องป้อนเข้าข้อมูลและกดแป้น Enter จะได้ภาพดอกไม้สีแดง 1 ดอกที่กลางจอภาพทันที
ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการเขียนชุดคำสั่งในลักษณะ program mode ก็คือ สามารถบันทึกชุดคำสั่งเหล่านี้ไว้ในฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นดิสก์ได้ โดยการใช้คำสั่ง File --> Save หรือ File --> SaveAs
http://www.kruudom.net/20202/p5.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น