การเขียนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์
การทำงานใด ๆ ของคอมพิวเตอร์จะทำตามลำดับขั้นตอนคำสั่งที่ได้วางไว้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในรูปแบบของโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์ ในที่นี้สมมติคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของเราอย่างเคร่งครัด หุ่นยนต์ตัวนี้อยู่ในโลกที่ไม่ตื่นเต้นเหมือนอย่างโลกของเรา โลกของหุ่นยนต์ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำ ไม่มีโรงภาพยนตร์ ไม่มีร้านค้า ฯลฯ แผนที่เมืองที่หุ่นยนต์อยู่เป็นแผ่นแบน ๆ มีทิศตามมาตรฐาน คือ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก โลกของหุ่นยนต์มีขอบเขตไม่จำกัด ทิศเหนือและใต้อยู่ในแนวแกน y โดยมีขอบเขตไม่จำกัด ทำนองเดียวกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตกซึ่งอยู่ในแนวแกน x ก็มีขอบเขตไม่จำกัด ดังนั้นโลกของหุ่นยนต์จึงเปรียบเทียบเสมือนถนนและซอยที่ตัดกันเป็นตารางสี่เหลี่ยม โดยถนนจะลากขึ้นไปตามแนวเหนือใต้ ส่วนซอยจะตัดแยกจากถนนออกไปในแนวตะวันออก ตะวันตก มุมหรือจุดตัดจะอ้างการตัดกันระหว่างถนนกับซอย ซึ่งเป็นจุดตัดเหมือนตารางหมากรุก หุ่นยนต์ จะอยู่ที่จุดตัดเหล่านี้ซึ่งมีพิกัด (x,y) และจะหันหน้าได้ 4 ทิศเท่านั้น เมืองของหุ่นยนต์ ดังรูป |
งานของหุ่นยนต์ คือ สิ่งที่เราสั่งให้หุ่นยนต์ทำ เช่น ต้องการให้หุ่นยนต์ไปยังจุดตัดที่มีพิกัด (5,6) ในการสั่งงานหุ่นยนต์เราต้องทราบ สถานะของหุ่นยนต์ ว่า ตำแหน่งเริ่มต้นของหุ่นยนต์อยู่ที่ใด และหันหน้าไปทางทิศใด หรือถ้าต้องการให้หุ่นยนต์ไปเก็บลูกบอล ก็ต้องทราบว่าลูกบอลอยู่ที่ใด และที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องทราบภาษาที่หุ่นยนต์เข้าใจ ในขั้นเริ่มต้นเพื่อให้เข้าใจวิธีการสั่งงานหุ่นยนต์ กำหนดคำสั่งพื้นฐานที่หุ่นยนต์สามารถเข้าใจมี 4 คำสั่ง ดังนี้ เดิน เป็นคำสั่งให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามทิศที่มันหันหน้าไป 1 ช่อง และจะคงทิศทางเดิม ซ้ายหัน เป็นคำสั่งให้หุ่นยนต์หันซ้าย 90 องศา โดยตัวหุ่นยนต์จะยังคงอยู่ที่เดิม เก็บ เป็นคำสั่งให้หุ่นยนต์หยิบลูกบอล ณ ตำแหน่งที่ยืนอยู่ใส่ลงในถุง ถ้าตรงจุดที่หุ่นยนต์อยู่ไม่มีลูกบอลก็จะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แต่ถ้ามีลูกบอลหลายลูกจะสุ่มเลือกมาใส่ถุงลูกเดียว วาง เป็นคำสั่งให้หุ่นยนต์หยิบลูกบอลจากในถุงไปวางในตำแหน่งที่ยืนอยู่ แต่ถ้าหุ่นยนต์ได้รับคำสั่งนี้ขณะที่ไม่มีลูกบอล อยู่ในถุงก็จะเกิดข้อผิดพลาด |
วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การเขียนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น